วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บุรีรัมย์ยางพารา

บุรีรัมย์ยางพารา

แปลงขยายพันธุ์ยางที่รับรองโดย
กรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ใบอนุญาตเลขที่ 324/2542  

ชื่อ จดทะเบียนการค้า

ส.ทวีคูณกิจ บุรีรัมย์ยางพารา

   ดำเนินงานโดย นายประสิทธิ์ ถือดำ ได้เริ่มทำอาชีพนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งถือได้ว่าเป็นแปลงเพาะชำพันธุ์ยางพารารายแรกในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งบุรีรัมย์ยางพารามี 
แปลงเพาะยางชำถุง
แปลงเพาะยางบัดดิ่ง
แปลงเพาะยางตาเขียว  
แปลงแม่พันธุ์กิ่งตายาง
    
    บุรีรัมย์ยาพารา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแปลงขยายพันธุ์ยางถูกต้องตามกรมวิชาการเกษตรที่กำหนดไว้ 
 และได้ผ่านการตรวจสอบทุกปีจากกรมวิชาการเกษตร ในปีที่ผ่าน ๆ มามีผลงานดังนี้
-
ได้รับโครงการอีสานเขียวส่งพันธุ์ยางชำถุงให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ สวนยาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534-2542
-
ได้ร่วมโครงการ 1 ล้านไร่ 90 ล้านต้น กับบริษัท C.P.เพาะพันธุ์ยางชำถุงให้กับเกษตรกรในโครงการ ของกรมวิชาการเกษตร และได้ รับเกียรติให้เป็นที่ปรึกษา ด้านวิชาการ การเพาะชำยางพารา
-
ได้รับโครงการ C.E.O. ส่งพันธุ์ยางชำถุงให้กับเกษตรกรภายในจังหวัดบุรีรัมย์
-
ได้รับโครงการของ อบต. ส่งเสริมเกษตรกรปลูกยางพารา
-
ได้รับเกียรติให้เป็นประธาน สหกรณ์ สตึก แคนดง คูเมือง จำกัด
- ได้รับเกียรติเชิญให้ไปดูงานเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตพันธ์ยางพารา ที่เมือง ยูนาน เมือง คุณมิง ประเทศจีน

บุรีรัมย์ยางพารา

มีกล้ายางตาเขียวและ ยางชำถุง พันธุ์

- RRIT251
ราคาจอง @00.00-ราคาขาย @00.00- 

-RRIT 408 
ราคาจอง @ 00.00-ราคาขาย @ 00.00-

-RRIM 600
ราคาจอง @ 00.00-ราคาขาย @ 00.00-

RRIM 600PB(ยอดดำ)
ราคาจอง @ 00.00-ราคาขาย @ 00.00-

-
พันธุ์ยางพาราจากมาเลเฃีย ชำถุงเท่าจำนวนจองเท่านั้น

RRIM 3001 
ราคาขาย @ 00.00-

สนใจ..โทรมาสอบถามราคากับเราได้ที่ 081-9677950,081-2669495

 
  พันธุ์ยางพารา ของเราได้ผ่านการตรวจสอบจาก ศูนย์วิจัยยางฯ กรมวิชาการเกษตร ทุกปี ท่านที่นำพันธุ์ยางจากเราไปปลูก ให้ท่านมั่นใจได้เลยว่า ท่านได้พันธุ์ยางพาราถูกต้องตรงตามพันธุ์ที่ท่านต้องการแน่นอน 
   นอกจากนี้ทางเรายังมีบริการรับสั่ง พันธุ์ยางที่ท่านต้องปลูกนอกเหนือจากนี้ จำหน่ายให้แก่เกษตรกร และผู้ที่สนใจปลูกยาง ในภาคเหนือและภาคอีสาน ด้วยประสบการ 23 ปีที่ทำอาชีพนี้ คงจะพอให้ท่านไว้วางใจ แปลงเพาะพันธุ์ยาง บุรีรัมย์ยางพารา จะไม่ทำท่านผิดหวังแน่นอน เพราะเราทำเป็นงานมืออาชีพ ถ้าท่านได้พันธุ์ยางไม่แท้ไปปลูก ท่านจะผิดหวังเสียเวลาและเสียรายได้ อยู่ตั้ง 20-40 ปี

569 ม. 15 ถ.แคนดง-สตึก ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์
โทร. 081- 2669495, 081-9677950, 089-9462954
อ.บ้านกรวด
ถ. บ้านกรวด อ.ละหารทราย ปากทาง เข้าสายตรี 3 อ. บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
โทร. 081- 2669495, 081-9677950, 089-9462954
จังหวัดชัยภูมิ
ถ.ชัยภูมิ-นครสวรรค์ อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ
โทร.081-2669495,081-9677950
และที่
ถ.ชัยภูมิ-นครสวรรค์ เชิงสะพานลำเชียงทา บ้านท่าโปร่ง
ต.วังตะเฆ้ อ.หนองบัวระเหว จ. ชัยภูมิ
โทร. 081-2669495, 081-9677950
@@@@@@@@@@@@@@@@@

มีเครื่องรีดยางจำหน่าย

- นวด
- รีดเรียบ
- รีดดอก
   
เสร็จในเครื่องเดียว

 เครื่องรีดยาง 3 in 1

ลูกกลิ้งรีดเรียบ 3 คู่
ลูกกลิ้งรีดดอก 2  คู่
ใช้เวลาในการรีดแผ่นยาง 1 แผ่น 1นาที
-ประเวลาในการทำแผ่น
-ประหยัดค่าไฟฟ้า เราใช้มอเตอร์ 1/2แรง 1ตัว
  เท่านั้น
-ใช้พื้นที่วางตั้งเครื่องน้อย





email:ppt.tuedam@gmail.com
ยินดีให้คำปรึกษาทุกเรื่องเกี่ยวกับยางพารา

โทร. 081-266-9495

ปลูกยางพารา เศรษฐกิจพัฒนา คืนป่าสู่ธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติยางพารา

ประวัติยางพารา
ความเป็นมา 
          ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้ยางว่า คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปีพศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถลบ รอยดำของดินสอได้โดยที่กระดาษไม่เสีย จึงเรียกยางว่า ยางลบหรือตัวลบ [Rubber] ซึ่งเป็น คำเรียกยางเฉพาะในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ส่วนใน ประเทศยุโรปอื่นๆ ในสมัยนั้น ล้วนเรียกยางว่า คาอุท์ชุก ทั้งสิ้น จนถึงสมัยที่โลกได้มีการปลูกยางกันมากในประเทศแถบ อเมริกาใต้นั้น จึงได้ค้นพบว่า พันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis ซึ่ง มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ Hevea ธรรมดามาก จึงมีการปลูกและซื้อขายยางพันธุ์ดังกล่าวกัน มาก และศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา [Para] บนฝั่งแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ด้วยเหตุดังกล่าว ยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยางพารา และเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ 
          ยางมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ มีความยืดหยุ่น [Elastic] กัน น้ำได้ เป็นฉนวนกันไฟได้ เก็บและพองลมได้ดี เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์จึงยังจะต้องพึ่งยางต่อ ไปอีกนาน แม้ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถผลิตยางเทียมได้แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติบางอย่าง ของยางเทียมก็สู้ยางธรรมชาติไม่ได้ ในโลกนี้ยังมีพืชอีกมากมายหลายชนิดที่ให้น้ำยาง [Rubber Bearing Plant] ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆ ชนิดในทวีปต่างๆ ทั่วโลก แต่น้ำยางที่ได้จาก ต้นยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดก็ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ยาง บางชนิดเช่น ยางกัตตาเปอร์ชาที่ได้จากต้นกัตตา [Guttar Tree] ใช้ทำยางสำเร็จรูปเช่น ยางรถยนต์ หรือรองเท้า ไม่ได้แต่ใช้ทำสายไฟได้ หรือยางเยลูตง และยางบาลาตา ที่ได้ จากต้นยางชื่อเดียวกัน ถึงแม้จะมีความเหนียวของยาง [Natural Isomer of Rubber] อยู่ บ้าง แต่ก็มีเพียงสูตรอณู [Melecular Formula] เท่านั้นที่เหมือนกัน แต่โดยที่มี HighRasin Content จึงเหมาะที่จะใช้ทำหมากฝรั่งมากกว่า ยางที่ได้จากต้น Achas Sapota ในอเมริกา กลาง ซึ่งมีความเหนียวกว่ายางกัตตาเปอร์ชาและยางบาลาตามาก คนพื้นเมืองเรียกยางนี้ ว่า ชิเคิ้ล [Chicle] ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตหมากฝรั่งที่ทำมาจากยางชนิดนี้จึงตั้งชื่อหมากฝรั่ง นั้นว่า Chiclets
 
          โลกเพิ่งจะมีโอกาสรู้จักและใช้ประโยชน์จากยางเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นี้ เอง ในขณะที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบโลกใหม่เดินทางไปอเมริกาในครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.. 2036 (1493) ก็ได้พบว่า มีชาวพื้นเมืองบางเผ่าทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว เช่น ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางที่ทำรองเท้า
          จากยางโดยการใช้มีดฟันต้นยาง แล้วรองน้ำยางใส่ภาชนะ หลังจากนั้น จึงเอาเท้าจุ่มลง ไปในน้ำยางนั้น หรือเอาเท้าวางไว้บนภาชนะแล้วเทน้ำยางราดลงบนเท้า ก็จะได้รองเท้า ที่เข้ากับเท้าพอดี หรือบางเผ่าในอเมริกาใต้ทำเสื้อกันฝนและผ้ากันน้ำจากยาง หรือเผ่ามา ยันในอเมริกาใต้ ที่ทำลูกบอลด้วยยาง แล้วนำมาเล่นโดยการให้กระเด้งขึ้นลงเพื่อเป็นการ สักการะเทพเจ้า จึงทำให้โคลัมบัสและคณะมีความแปลกใจเป็นอันมาก และคิดกันไปว่า ในลูกกลมๆที่เด้งได้นั้น ต้องมีตัวอะไรอยู่ข้างในเป็นแน่ หลังจากนั้นเมื่อโคลัมบัสเดินทาง กลับยุโรป ก็ได้นำวัตถุประหลาดนั้นกลับไปด้วย โคลัมบัสจึงเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้มีโอกาสสัมผัสยาง และนำยางเข้าไปเผยแพร่ในยุโรป
          การส่งยางเข้ามาในยุโรปในระยะแรกนั้นต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่ยางจะเดินทางจาก แหล่งกำเนิดจนมาถึงยุโรป ยางก็จะจับตัวกันเป็นก้อนเสียก่อน ดังนั้น ยางที่เข้ามาในยุโรปสมัยแรกๆ นั้น จึงเป็นยางที่ผลิตเป็นสินค้าแล้วเนื่องจากมนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีที่จะทำ ให้ยางที่จับตัวกันเป็นก้อน ให้ละลายและทำเป็นรูปทรงที่ต้องการได้อย่างไร การผลิต ยางจึงต้องทำทันทีหลังจากได้น้ำยางมาก่อนที่ยางจะจับตัวกันเป็นก้อน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เช่น ในประเทศเม็กซิโก ก็มีหลักฐานว่าได้มีการใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว แต่เป็นการผลิตอย่างง่ายๆเช่น ทำผ้า ยางกันน้ำ ลูกบอล และ เสื้อกันฝน เป็นต้น

การค้นพบ

พ.ศ..2143(1600) ก็ยังไม่มีความพยายามที่จะนำกรรมวิธีทำยางเข้ามาในยุโรป 
พ.ศ.. 2279(1736) ชาลส์ มารี เดอลา คองดามี ได้ส่งตัวอย่างยางจากลุ่มน้ำอเมซอน กลับมาที่ฝรั่งเศส และสรุปว่าไม่สามารถนำน้ำยางกลับไปยุโรปเพื่อการผลิตได้ เพราะ ยางจะแข็งตัวเสียก่อนที่จะถึงยุโรป 
พ.ศ.. 2313 เฮอริสแซน พบว่า น้ำมันสน [Terpentine] สามารถละลายยางที่จับตัวกัน เป็นก้อนได้ และยังพบต่อไปอีกว่า Ether เป็นตัวละลายยางได้ดีกว่าน้ำมันสน 
พ.ศ.. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ (คนเดียวกับที่ค้นพบอ๊อกซิเจน) ค้นพบว่า ยางใช้ลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกยางว่ายางลบ [Rubber] ตั้งแต่นั้น 
พ.ศ.. 2334 (1791) โฟร์ ครอย ค้นพบการป้องกันไม่ให้ยางจับตัวกันเป็นก้อนโดยการเติมด่างที่มีชื่อว่า Alkali ลงไปในน้ำยาง แต่การค้นพบนี้ก็ต้องเป็นหมันอยู่ถึง 125 ปีเพราะไม่มีใครสนใจ 
พ.ศ.. 2363 (1820) โธมัส แฮนคอก (อังกฤษ) ประดิษฐ์เครื่องฉีกยางได้สำเร็จ แต่ก็ปกปิดไว้ โดยบอกคนที่ถามว่าเป็นเครื่องดองยาง [Pickle] และยังพบด้วยว่า ความร้อนทำให้ยางอ่อนตัวลงได้ และจะปั้นใหม่ให้เป็นรูปอะไรก็ได้ ตามต้องการ 
พ.ศ.. 2375 (1832) แฮนคอกได้ปรับปรุงเครื่องฉีกยางของเขาให้ดีขึ้น และเรียกเครื่องที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ว่าดังกล่าวว่า เครื่อง Masticator ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบของเครื่องฉีกยางที่ใช้กันถึงทุกวันนี้ โธมัส แฮนคอก จึงได้รับเลือกให้เป็น "บิดาแห่งอุตสาหกรรมการยาง" 
พ.ศ.. 2380 (1837) แฮนคอกประดิษฐ์เครื่องรีดยางได้เป็นผลสำเร็จ [Spreading] 
พ.ศ.. 2379 (1836) ทางอเมริกาก็ประดิษฐ์เครื่องบดยางได้สำเร็จเหมือนกัน 
พ.ศ.. 2386 (1843) ชาลส์ กูดเยียร์ (อเมริกา) ค้นพบกรรมวิธีในการทำให้ยางคงรูป โดยการ "อบความร้อน" [Vulcanisasion] และยางที่ผสมกำมะถันและตะกั่วขาว เมื่อย่างไฟแล้ว แม้จะกระทบร้อนหรือเย็นจัด ยางจะเปลี่ยนรูปไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สิ่งที่ชาลส์ค้นพบนี้ แฮนคอกก็ค้นพบในอีก 2 ปีต่อมา และนำผลงานไปจดทะเบียน [Patent] ทันที แต่ชาลส์ไปจดทะเบียนหลังแฮนคอก 2 - 3 สัปคาห์ แต่โลกก็ยังให้เกียรติแก่ ชาลส์ กูดเยีย ว่าเป็นผู้ที่คิดกรรมวิธีนี้ได้ก่อน 
พ.ศ.. 2389 (1846) โธมัส แฮนคอก ประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนางเจ้าวิคตอเรีย 
พ.ศ..2413 (1870) จอน ดันลอป ผลิตยางอัดลมสำหรับจักรยานได้สำเร็จ 
พ.ศ.. 2438 (1895) มีผู้ประดิษฐ์ยางอัดลมสำหรับรถยนต์ได้สำเร็จ 


          การค้นพบกรรมวิธีในการทำให้ยางคงรูปได้นั้น นับได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีการค้นพบและมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมากมายเช่น เจมส์ วัตต์ สร้างเครื่องจักรไอน้ำ โรเบิร์ต ฟูลตัน สร้างเครื่องจักรเรือไอน้ำ จอร์จ สตีเวนสัน สร้างหัวรถจักรไอน้ำ ไมเคิล ฟาราเด สร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอส สร้างเครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น แต่ความสำเร็จต่างๆ เหล่านั้น คงจะขาดความสมบูรณ์ไปมากถ้ายังขาดความรู้เรื่องการทำยางให้คงรูป เพราะยางที่คงรูปแล้ว [Vulcanised Rubber] จะช่วยเติมความไม่สมบูรณ์เหล่านั้นให้เต็มเช่น เป็นตัวห้ามล้อรถไฟ หรือทำสายไฟ และสายเคเบิ้ลใต้น้ำ เป็นต้น 
          การผลิตยางในโลกสมัยก่อนปี พ.ศ.. 2443 (1900) นั้น ส่วนมากจะเป็นยางที่ปลูกในประเทศแถบอเมริกาใต้คือ บราซิล โคลัมเบีย และปานามาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมียางที่ได้จากรัสเซีย และอัฟริกาเป็นบางส่วน และในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ยางเริ่มมีความสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นแล้ว โลกจึงมีความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก โธมัส แฮนคอก จึงมีความคิดว่า ถ้าโลก (หมายถึงยุโรป) ยังคงต้องพึ่งยางที่มาจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ในอนาคตอาจจะเกิดความขาดแคลนยางขึ้นได้ จึงน่าที่จะหาที่ ใหม่ๆในส่วนอื่นๆของโลกเพื่อปลูกยางเอาไว้บ้าง ในปี พ.ศ.. 2398 (1855) จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษาเซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรชาวยุโรปในยุคนั้น ยังไม่มีใครรู้จักยางกันมากนักว่า ยางมีหน้าตาเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งได้ยางมาอย่างไรจากต้นอะไร จนกระทั่งในปี พ.ศ..2414(1871) จึงมีผู้นำภาพวาดต้นยางมาให้เซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ ดูท่านจึงมีความสนใจในการปลูกยางมากขึ้น จึงได้ปรึกษากับเซอร์คลีเมนส์ มาร์คแฮม ผู้ช่วยเลขาธิการประจำทำเนียบ ผู้ว่าการประจำอินเดีย ความพยายามที่จะนำยางมาปลูกในเอเชียจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สถานะการณ์ยางในประเทศแถบอเมริกาใต้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากในสภาวะที่โลกมีความต้องการยางสูงมาก ชาวสวนยางในโคลัมเบียและปานามาจึงโหมกรีดยางกันอย่างหนัก จนในที่สุด ต้นยางในประเทศนั้นจึงได้รับความบอบช้ำมาก และตายหมดจนไม่มีต้นยางเหลืออยู่ในแถบนั้นอีกเลย
          เซอร์คลีเมนส์ จึงนำพันธุ์ยางมาทดลองปลูกในอินเดียเป็นครั้งแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ทดลองปลูกยางในดินแดนต่างๆ ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในที่สุดจึงพบว่า ในดินแดนแหลมมลายูเป็นที่ที่ยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และยังพบว่า พันธุ์ยางที่ดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis หรือยางพารา ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2425 (1882) ยางพาราจึงเป็นที่ นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในแหลมมลายูในระยะแรกเริ่ม ยางพาราจะปลูกกันมากในดินแดนอาณานิคมของอังกฤษและฮอลแลนด์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น เยอรมันก็ปลูกยางไว้ที่อัฟริกาบ้าง และบางส่วนเป็นยางในรัสเซีย เหตุที่ยางพาราเป็นที่นิยมปลูกกันมากในเอเชีย อาจเนื่องมาจาก ในเอเชียมีองค์ประกอบต่างๆที่เหมาะสมในการปลูก ทั้งสภาพดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ สภาพดิน และปริมาณฝน รวมทั้งแรงงานที่หาได้ง่าย ประกอบกับคุณสมบัติทางการเกษตรและการพาณิชย์ของยางเองเช่น 
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นควนเขา ไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ แต่ปลูกยางได้ 
ยางเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก โรคและศัตรูพืชน้อย 
ไม่ต้องมีการเฝ้ารักษา เพราะผลผลิตของยางไม่สามารถขโมยกันได้ 
ผลผลิตยางสามารถขายได้ทุกคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางคุณภาพเลวเพียงใดก็ขายได้ เป็นยางปนกรวด ปนดิน ปนทราย ก็ขายได้ แม้แต่ขี้ของขี้ของขี้ของยาง ก็ขายได้ 
ไม่ต้องง้อคนซื้อ เพราะผลผลิตไม่เน่าเสีย (ในอดีต) 
เป็นสินค้าที่ขายได้คล่อง และขายได้จนหมด ไม่มีเหลือ (ในอดีต) 
ให้ผลผลิตที่ยาวนาน และแน่นอน
 
          ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม" ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ. 2425 ซึ่งช่วงนั้น ได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้น นำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้เหมือนหนึ่ง "บิดาแห่งยาง" เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก
          จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางมากขึ้นและได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ กระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้มากที่สุดในโลก
          ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลูกยางกันมีผลดีมากก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมาหุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯ รีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที
          ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย
 
          ในปี 2451 หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) ได้นำยางไปปลูกที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้มีการขยายการปลูกยางพาราในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการปลูกกันทั่วไป ใน 3 จังหวัด ภาคตะวันออก คือ จันทบุรี ระยอง และตราด และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออก ต่อมาก็มีผู้พยายามที่จะนำพันธุ์ยางไปปลูกทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เป็นระยะๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกับที่ปลูกของภาคใต้ และภาคตะวันออก
          ในช่วงปี 2475 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่คอหงส์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้ก่อตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคใต้ ขึ้นที่ บ้านชะมวง ตำบลควนเนียง อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา และในปี 2476 ได้ย้ายสถานีดังกล่าวไปตั้งที่ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ พร้อมกับตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ตำบลคอหงส์ด้วย โดยหลวงสุวรรณฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ต่อมาในปี 2496 หลวงสำรวจพฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) หัวหน้ากองการยางและนายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ช่วยหัวหน้า กองการยางได้เสนอร่าง พรบ. ปลูกแทนต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาถึง 6 รัฐบาล ในเวลา 6 ปี จึงออก พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในปี 2503 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในปี 2504 กิจการปลูกแทนก้าวหน้าด้วยดี เป็นที่พอใจของชาวสวนยางในภาคใต้ หลวงสำรวจพฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) นายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ริเริ่มการปลูกแทน ผู้ริเริ่มการปลูกแทนยางพาราที่ปลูกในสมัยแรกส่วนใหญ่เป็นยางพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้ชาวสวนยาง มีรายได้น้อยโดยเฉพาะในช่วงที่ยางมีราคาตกต่ำ วิธีการแก้ไขคือ การปลูกแทน  ยางพื้นเมืองเหล่านั้นด้วยยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ผู้ผลิตยางหลายประเทศได้เร่งการปลูกแทนยางเก่าด้วยยางพันธุดีเพื่อเพิ่มผลผลิตยาง เช่น มาเลเซียได้ออกกฎหมายสงเคราะห์ปลูกยางในปี 2495 และศรีลังกาได้ออกกฎหมายทำนองเดียวกันในปี 2496 ต่อมาได้รับความร่วมมือจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยการยางขึ้นที่ตำบลคอหงส์ในปี 2508
          ในปี 2508 ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายางการวิจัยและพัฒนายางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยางไทย โดยเปลี่ยน สถานะจากสถานีทดลองยางคอหงส์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการวิจัย และพัฒนายางของไทยคือ ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้อำนวยการกองกองการยาง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและดูแลศูนย์วิจัยการยางที่ตั้งขึ้นใหม่ศูนย์วิจัยการยางได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และมีผู้เชี่ยวชาญยางพาราสาขาต่างๆ มาช่วยวางรากฐานการวิจัย และพัฒนาร่วมกับนักวิจัยของไทยในระยะเริ่มแรก มีการวิจัยยางด้านต่างๆ เช่น ด้านพันธุ์ยาง โรคและศัตรูยางด้านดินและปุ๋ย การดูแลรักษาสวนยางการกำจัดวัชพืช การปลูกพืชคลุม การปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวสวนยาง ด้านอุตสาหกรรมยางและเศรษฐกิจยางและมีการพัฒนายางโดยเน้นการพัฒนาสวนยางขนาดเล็ก เช่น การ กรีดยางหน้าสูง การใช้ยาเร่งน้ำยาง การส่งเสริมการแปลงเพาะและขยายพันธุ์ยางของภาคเอกชน การรวมกลุ่มขายยางและการปรับปรุงคุณภาพยางและการใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา มีการออกวารสารยางพาราเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชาวสวนยางและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดหลักสูตรการฝึกอบรมและการจัดสัมมนายางเพื่อถ่าย 
ทอดความรู้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
          และจนกระทั่ง ในปี 2521 กรมวิชาการเกษตร และกรมประชาสงเคราะห์ได้เริ่มงานทดลองปลูกสร้างสวนยางพาราตามหลักวิชาการปลูกสร้างสวนยางแผนใหม่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทดลองปลูกในจังหวัดหนองคาย บุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ผลผลิตยางในขณะนั้นเริ่มเปิดกรีดได้แล้วอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่แตกต่างจากผลผลิตในภาคใต้ และภาคตะวันออกนัก ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาการปลูกยางในเขตแห้งแล้ง และถือเป็นการเริ่มขยายเขตปลูกยางพาราสู่เขต ใหม่ของประเทศไทยอย่างจริงจัง
          นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับองค์กรยางระหว่างประเทศในการวิจัยและพัฒนายางอย่างกว้างขวางในระยะต่อมาศูนย์วิจัยการยางได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยยางสงขลาในปี 2527 และมีการก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้นใหม่อีก 3 ศูนย์ ที่สุราษฎร์ธานี ฉะเชิงเทรา หนองคาย และ นราธิวาสเพื่อขยายงานวิจัย และพัฒนายางให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางของประเทศ การวิจัยและพัฒนายางเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญทำให้การปลูกแทนในพื้นที่ปลูกยางเดิมและการปลูกใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบความสำเร็จมากขึ้น

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

พันธุ์ยาง RRIM 600

  พันธุ์ยาง RRIM 600

แม่ X พ่อTjir 1x PB 86
แหล่งกำเนิดมาเลเซีย
ผลผลิตผลผลิตสูงมากทั้งในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆมา ใน ช่วงผลัดใบ ผลผลิตจะลดลง เพียงเล็กน้อย แต่ใน แหล่งปลูกยางใหม่ ผลผลิต จะลดลงมาก
การเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ในระยะ ระหว่างกรีด มีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่
ความหนาของเปลือกเปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนา
รอยแผลกรีดถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่ จะเสียหายรุนแรงมาก
ความต้านทานโรค 
โรคใบร่วงไฟทอปโทราอ่อนแอมาก
โรคใบจุดออยเดียมปานกลาง
โรคใบจุดคอลเทโทตริกัมปานกลาง
โรคเส้นดำอ่อนแอมาก
โรคราสีชมพูอ่อนแอมาก
โรคเปลือกแห้งดี มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย
ความต้านทานลมปานกลาง
พื้นที่ปลูกปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และ พื้นที่ ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกตสำหรับ การปลูกยางพันธุ์นี้ทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ และ บริเวณชายแดน ของภาคตะวันออก ในบางปี ที่มี โรคใบร่วงไฟทอปโทรา ระบาดรุนแรง ผลผลิต จะลดลงมาก


   RRIM 600 - ผลผลิตเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ผลผลิตลดลงมากในช่วงผลัดใบในพื้นที่แห้งแล้ง
- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบาง และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนปานกลางอ่อนแอต่อโรคราสีชมพู อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื่อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย ต้านทานลมปานกลาง
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
- ข้อสังเกต : ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงไฟทอบโทราและโรคเส้นดำระบาดอย่างรุนแรง

******ข่าวด่วน ******

ทางแปลง บุรีรัมย์ยางพารา ได้เปิดรับจองพันธุ์ยาง ปี นี้แล้ว
ถ้าท่านจองตั้งแต่ตอนนี้ ท่านจะได้
พันธุ์ยางครบและตรงตามพันธุ์แน่นอน
พันธุ์ยางพาราบางพ้นธุ์เราเพาะชำ เท่าจำนวน
ที่ท่านสั่งจองเท่านั้น 
เปิดรับสั่งจอง และสั่งซื้อพันธุ์ยางพารา

เพื่อได้รับกล้าไปปลูก ในฤดูฝนที่จะมาถึง ได้ทีฺฺฺฺ่

บุรีรัมย์ยางพารา


569 ม. 15 ถ.แคนดง-สตึก ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์

โทร. 081- 2669495, 081-9677950, 089-9462954

พันธุ์ยาง RRIT251


คุณสมบัติลักษณะเด่นของพันธุ์ยางRRIT251

  1,   ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงมาก

               1.1  RRIT 251 ให้ผลผลิตเนื้อยอย่างแห้งเฉลี่ย 9 ปีกรีด  467.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งให้ผลผลิต218.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 59.4
               1.2  RRIT 251   ให้ผลผลิตเนื้อยางแห้ง เฉลี่ย 10 ปีกรีด    474.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  สูงกว่าพันธุ์ GT 1    ซึ่งให้ผลผลิต 218.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  คิดเป็นร้อยละ 117.4
     2.  การเจริญเติบโต  ระยะก่อนเปิดกรีดดี  RRIT 251   เมื่ออายุ 7 ปี    มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 51.6 เซนติเมตร   ขนาดใหญ่กว่าพันธุ์RRIM 600 ที่มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 74.2 เซนติเมตร  และใกล้เคียงกับพันธุ์ GT 1 ที่มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 50.1 เซนติเมตร
     3.  จำนวนต้นเปิดกรีดมาก RRIT 251  มีขนาดลำต้นสม่ำเสมอดีมาก    จึงมีจำนวนต้นเปิดกรีดมากคิดเป็นร้อยละ 78.0 ของแปลงมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1 ร้อยละ 66.3 และ 13.2 ตามลำดับ
     4.  ความหนาของเปลือก RRIT 251    เมื่ออายุ 9 ปี   มีความหนาเปลือกเฉลี่ย 5.8 มิลลิเมตร  หนากว่าพันธุ์RRIM 600  และ GT 1 ร้อยละ 13.7   และ 1.7 ตามลำดับ และเมื่ออายุ 20 ปี    ความหนาเปลือกเพิ่มเป็น 9.8 มิลลิเมตร   หนากว่าพันธุ์RRIM 600  และ GT 1 ถึงร้อยละ 15.2 และ 11.3 ตามลำดับ
     5.  จำนวนท่อน้ำยางมาก RRIT 251 เมื่ออายุ 9 ปี  มีจำนวนวงท่อน้ำยาง 10.5 วง มากกว่า พันธุ์ RRIM 600 และ GT 1 ร้อยละ23.5 และ 10.5 ตามลำดับ  และ เมื่ออายุ 20 ปี มีจำนวนวงท่อน้ำยาง 39.4 วง มากกว่าพันธุ์ RRIM 600  และ GT 1 ร้อยละ 23.1 และ 86.7 ตามลำดับ       
   6.  การต้านทานโรค  ยางพันธุ์RRIT251ต้านทานโรก ใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา  ออยเตียม และคอลเลโทตริกัม  ดีกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1
ข้อแนะนำ
           - พันธุ์ RRIT1 251   มีขนาดทรงพุ่มใหญ่  และการแตกกิ่งไม่สมดุล ปลูกได้พื้นที่ราบทั่วไป ที่ราบลุ่ม ไม่แนะนำปลูกพื้นที่ลาดชัน 30 องศาขึ้นไป
          - ระยะการปลูก 3.5x6 , 4x5 , 3x7   เมตร
          - ควรปลูกใกล้แหล่งน้ำ ลำธาร คลอง หนอง บึง
          - แบ่งหน้ากรีดครึ่งลำต้น  กรีดวันเว้นวัน
          - การบำรุงรักษาใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 30-5-18 หรือ 25-7-18 หรือสูตรใกล้เคียง  แบ่งใส่ต้นละ 500กรัม 3ครั้ง/ปี  สลับการใส่ปุ๋ยหมัก หรืออินทรีย์ชีวภาพ 3 กิโลกรัม/ต้น/ปี


สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251) 
แม่ x พ่อ     
คัดเลือกจากต้นกล้ายางแปลงเอกชนในจังหวัดสงลา

แหล่งกำเนิด     
ราชอาณาจักรไทย



การเจริญเติบโต     
การเจริญเติบโตก่อนการกรีดดีและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง

ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้จำนวนต้นเปิดกรีดมาด
การแตกกิ่งและทรงพุ่ม    
แตกกิ่งมาทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง การแตกกิ่งไม่สมดุล 

พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นครึ่งวงกลม


การผลัดใบ     
ทยอยพลัดใบ




ความหนาเปลือก 
เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง


ระบบกรีด     
ครึ่งลำต้น วันเว้นวัน 



ผลผลิตเนื้อยางแห้ง     
ในพื้นที่ปลูกยางเดิม ให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 462 กิโลกรัม

ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 57


ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ให้ผลผลิต 8 ปีกรีดเฉลี่ย 343 กิโลกรัม


ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 59

ความต้านทานโรค





     ใบร่วงไฟทอฟธอรา         
ต้านทานปานกลาง



     ราแป้ง                         
ต้านทานปานกลาง



     ใบจุดคอลเลโทตริกัม        
ต้านทานปานกลาง



     ใบจุดก้างปลา                 
ค่อนข้างต้านทาน



     เส้นดำ                         
ค่อนข้างต้านทาน



     ราสีชมพู                       
ต้านทานปานกลาง



     อาการเปลือกแห้ง             
มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย


     ความต้านทานลม             
ต้านทานปานกลาง



     ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก            
ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชันพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น


และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง



ข้อสังเกต/ข้อแนะนำ    
 ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ยางพันธุ์นี้ในระยะยางอ่อน

                                   
จะอ่อนแอมากต่อโรคใบจุดคอลเลโทติกัน



ไม่แนะนำให้กรีดถี่มากกว่าวันเว้นวัน เพราะต้นยาง

                                   
จะแสดงอาการเปลือกแห้งมาก เนื่องจากเป็นพันธุ์

                                   
ที่มีพุ่มที่มีทรงพุ่มใหญ่ ไม่ควรปลูกด้วยระยะปลูก


น้อยกว่า3 x 7 เมตร




อ้างอิงข้อมูล: เทคนิคการขายพันธุ์ยางพาราด้วยตนเอง.พริ้ม ศรีหานาม . 15 หน้า

ทางแปลง บุรีรัมย์ยางพารา ได้เปิดรับจองพันธุ์ยาง ปี พ.ศ.นี้แล้ว
ถ้าท่านจองตั้งแต่ตอนนี้ ท่านจะได้
พันธุ์ยางครบและตรงตามพันธุ์แน่นอน

พันธุ์ยางพาราบางพ้นธุ์เราเพาะชำ เท่าจำนวน
ที่ท่านสั่งจองเท่านั้น 

เปิดรับสั่งจอง และสั่งซื้อพันธุ์ยางพารา

เพื่อได้รับกล้าไปปลูก ในฤดูฝนที่จะมาถึง ได้ที่ จังหวัดบุรีรัมย์

569 ม. 15 ถ.แคนดง-สตึก ต.แคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์

โทร. 081- 2669495, 081-9677950, 089-9462954