วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




บทบรรณาธิการ


       วารสารยางพาราฉบับนี้  ยังคงภูมิใจที่จะนำเสนอผลงาน วิจัยของนักวิจัยสถาบันวิจัยยางที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น กรมวิชาการเกษตร ประเภทงานวิจัยประยุกต์ ประจำปี 2553 

     เรื่อง  พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT 408) พันธุ์ยาง สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT 408) เป็นพันธุ์ยางลูกผสมระหว่าง พันธุ์ PB 5 / 51 (ที่เมื่อหลายปีก่อน เคยถูกจัดอยู่ในคำแนะนำพันธุ์ยางชั้น 1 เช่นกัน) กับยางพันธุ์ RRIC 101 (ยางพันธุ์ดีของสถาบันวิจัยยางศรีลังกา) โดยได้เริ่มต้นผสมพันธุ์ ณ ศูนย์
   วิจัยยางฉะเชิงเทรา อำเภอสนามชัยเขต ตั้งแต่ปี 2535 แล้วนำไปทดสอบเปรียบเทียบพันธุ์ ตามขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์อยู่หลายปี ทั้งเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย  จนกระทั่งมั่นใจออกเป็นคำแนะนำ โดยยางพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นตามที่กำลังต้องการสำหรับใช้ปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มักปรากฏสภาพแห้งแล้งเนื่องจากเป็นพันธุ์ยางที่ค่อนข้างทนต่อสภาพดังกล่าวได้ดี ทั้งยังให้ผลผลิตและลักษณะตามที่ต้องการ
อื่นๆ ดีอีกด้วย ดังนั้น จะเห็นว่ากว่าจะได้ยางพันธุ์ดีแต่ละพันธุ์ ต้องใช้เวลาและงบประมาณไปจำนวนมาก ผู้วิจัยพันธุ์ยางเองก็ต้องมีความอดทน และมีความเพียรพยายามอย่างยิ่ง ที่บางครั้งผลที่ได้รับอาจไม่ได้ดังคาดหวัง ซึ่งมักพบว่าพันธุ์ยางที่ได้รับจำนวนไม่น้อยที่ให้ผลไม่ดีกว่าพันธุ์ที่แนะนำเดิม คณะผู้ดำเนินการวิจัยนี้จึงสมควรแล้วกับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นควบคู่กันไปในวารสารยางพาราฉบับนี้ ขอเสนอบทความ วิธีการจำแนกลักษณะทางสันฐานวิทยา (Morphology) ของยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT 408) เพื่อชี้รูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพันธุ์ที่สังเกตเห็นได้ทั่วไป เพื่อง่ายต่อการ
จำแนกแยกแยะจากยางพันธุ์อื่นๆ โดยต้องขอเรียนทำความเข้าใจก่อนด้วยว่า ลักษณะเฉพาะของพันธุ์ยางแต่ละพันธุ์นั้น ไม่ได้ตายตัวแน่นอน ไม่เป็นลักษณะเฉพาะตัวทุกส่วน แต่เป็นลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่ที่พบเห็น เป็นลักษณะเชิงพรรณนาไม่มีมาตรวัด  ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการจำแนกพันธุ์ยางเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ต้องอาศัยความชำนาญจึงจะจำแนกได้ถูกต้องแม่นยำ  

 เจ้าของ สถาบันวิจัยยาง 

  กรมวิชาการเกษตร 

บรรณาธิการบริหาร  สุจินต์ แม้นเหมือน
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง 
บรรณาธิการ  ดร.สุทัศน์ สุรวาณิช 
ผู้ช่วยบรรณาธิการ  ดร.ภัทธาวุธ จิวตระกูล, พิเชฏฐ์ พร้อมมูล 
กองบรรณาธิการ 
เอนก กุณาละสิริ, พรรษา อดุลยธรรม, ดร.นภาวรรณ เลขะวิพัฒณ์, ดร.พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์,
 ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ 
ผู้จัดการสื่อสิ่งพิมพ์  ประพาส ร่มเย็น 
ผู้ช่วยผู้จัดการสื่อสิ่งพิมพ์ ชุมสินธุ์  ทองมิตร 
ผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมจิตต์ ศิขรินมาศ  
ผู้ช่วยผู้จัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จักรพงศ์ อมรทรัพย์  
ผู้จัดการระบบฐานข้อมูล  พิเชฎฐ์  พร้อมมูล
ผู้จัดการสนทนาภาษายาง วราวุธ ชูธรรมธัช

“สถาบันวิจัยยาง 408”

พันธุ์ยางใหม่ของสถาบันวิจัยยาง

    เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราของโลกยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ 
ทำให้ราคายางสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายขยายพื้นที่
ปลูกยางหนึ่งล้านไร่ไปยังพื้นที่ปลูกยางใหม่ ทำให้พื้นที่ปลูกยางในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 16,889,686 ไร่ กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศ โดยมีผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ 278 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
    โดยภาคใต้มีพื้นที่ปลูก 11,339,658 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 272 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
 ภาคตะวันออกรวมภาคกลางมีพื้นที่ปลูก 2,103,908 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 282 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูก 2,845,542 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
 และภาคเหนือมีพื้นที่ปลูก 600,578 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 251 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า ค่าเฉลี่ยของผลผลิตจากการปลูกยางมีอัตราลดลงจากปี 2547 ที่มีผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ 286 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และผันแปรไปในพื้นที่แต่ละภาค ซึ่งสาเหตุของการลดลงของผลผลิตดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ
   ประการที่หนึ่ง  คือ การขยายพื้นที่ปลูกยางจากแหล่งปลูกยางเดิมที่มีสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตน้ำยาง ไปยังแหล่งปลูกยางใหม่ที่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนต่ำกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี มีการกระจายตัวของปริมาณฝนน้อย มีช่วงแล้งยาวนาน 4 – 6 เดือน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทำให้การปลูกยางมีอัตรารอดตายต่ำ การเจริญเติบโตช้า ทำให้เปิดกรีดได้ช้ากว่า พื้นที่ปลูกยางเดิม 1 – 2 ปี และพันธุ์ยางแต่ละพันธุ์จะให้ผลผลิตน้ำยางลดต่ำลงกว่าพื้นที่ปลูกยางเดิมร้อยละ 10 – 20 ตามความสามารถในการปรับตัวของพันธุ์ นอกจากนี้แล้ว การปลูกยางในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ยังประสบปัญหาจากสภาพแวดล้อมหลายประการ เช่น ต้นยางเสียหายจากแสงแดด การระบาดของโรค – แมลงที่แตกต่างไปจากเดิม มีจำนวนต้นแสดงอาการเปลือกแห้งมาก และมีจำนวนต้นตายเนื่องจากสภาวะแล้งมากในบางปี
   ประการที่สอง คือ แม้ว่าในพื้นที่ปลูกยางเดิม สภาพแวดล้อมโดยส่วนใหญ่จะเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตน้ำยาง แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน พบว่า มีผลอย่างยิ่งต่อการระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ดังจะพบได้ว่าในบางปีมีการระบาดของโรคใบร่วงไฟทอฟธอราและราสีชมพู รวมทั้งอาการเปลือกแห้งรุนแรงเพิ่มขึ้น ต้นยางเปิดกรีดได้ช้าลงเนื่องจากเป็นการปลูกยางในพื้นที่ปลูกเดิม และการให้ผลผลิตน้ำยางต่ำกว่าเดิม
     ก า ร ใ ช้ พั น ธุ์ ย า ง ที่ มี อ ยู่ เ ดิ ม ม า แ น ะ น ำ ใ ห้ เกษตรกรปลูก จะส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตและเสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น สถาบันวิจัยยางจึงได้เร่งรัดดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์เพื่อหาพันธุ์ยางใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตน้ำยางและ/หรือเนื้อไม้สูง ต้านทานโรค ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้มากขึ้นและมีลักษณะของพันธุ์ยางตรงตามความต้องการของเกษตรกร ให้เกษตรกรมีโอกาสในการเลือกใช้พันธุ์ยางได้มากขึ้น และในปี พ.ศ.2554 สถาบันวิจัยยางได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางฉบับใหม่และแนะนำพันธุ์ยางชั้น 1 พันธุ์ใหม่ “สถาบันวิจัยยาง 408” ให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่เลือกปลูกได้ตามความต้องการ

 

การปรับปรุงพันธุ์ยาง “สถาบันวิจัยยาง 408”

   วัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง การเจริญเติบโตดี ต้านทานโรคที่สำคัญ เช่น ไฟทอฟธอรา ราแป้ง ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งมีลักษณะอื่นๆ ที่ดี คุณสมบัติของน้ำยางที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมยางดำเนินงานตามแผนปรับปรุงพันธุ์ยางมาตรฐาน โดยผสมพันธุ์ยางที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2535 ได้ต้นกล้าลูกผสมจำนวน 2,175 ต้น นำลงปลูกในแปลงคัดเลือกพันธุ์ยางเบื้องต้นในเดือนตุลาคม 2535 เปิดกรีดเมื่อต้นยางอายุ 2 ปี 8 เดือน
  จากการกรีดทดสอบผลผลิตคัดเลือกได้ต้นกล้าลูกผสมระหว่างพันธุ์ PB 5/51 กับ RRIC 101 ที่ปลูกในลำดับที่ 1396 (RRI-CH-35-1396 เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันวิจัยยาง 408 ในปี พ.ศ. 2545) โดยมีการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตน้ำยางสูงมาก 29.2 กรัมต่อต้นต่อ 10 ครั้งกรีด ซึ่งเป็นค่าผลผลิตสูงสุดของทั้งแปลง ให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อทาสารเคมีเร่งน้ำยาง หลังผ่านการคัดเลือกในระยะต้นกล้า ได้ตัดกิ่งนำไปขยายพันธุ์และปลูกในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ และศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานีในปี พ.ศ. 2539 และ 2541 และปลูกในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยยางหนองคาย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรในหลายพื้นที่
   ในระหว่างปี พ.ศ.2542 - 2550 ซึ่งขณะนี้เปิดกรีดได้ใน 2 พื้นที่ คือ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา และศูนย์วิจัยยางหนองคาย
      พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง408 เริ่มแนะนำพันธุ์ครั้งแรกในคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2550 โดยจัดเป็นพันธุ์ยางแนะนำชั้น 2 และจากผลการทดลองในระยะต่อมาในพื้นที่ปลูกยางใหม่พบว่า พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 ยังคงให้ผลผลิตน้ำยางสูง จึงเลื่อนเป็นพันธุ์ยางแนะนำชั้น 1 สำหรับปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ในคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2554 ส่วนในพื้นที่ปลูกยางเดิมยังอยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม

 

ลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์ยาง

สถาบันวิจัยยาง 408

      ผลผลิตเนื้อยางแห้ง ผลผลิตกรัม ต่อต้น ต่อครั้งกรีด พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 ให้ผลผลิตสูงมากตั้งแต่ระยะแรกของการกรีด เช่นเดียวกับพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 32.7 – 52.0 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ระหว่างร้อยละ 46 - 72  แม้ว่าที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 ให้ผลผลิตในปีที่ 2 ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้งในระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 49 ที่ปริมาณฝนต่ำกว่า 1000 มิลลิเมตรต่อปีผลผลิตกิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
     พันธุ์ยาง สถาบันวิจัยยาง 408  เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อต้นสูง และมีขนาดลำต้นสม่ำเสมอกันดี ทำให้มีจำนวนต้นกรีดมาก ให้ผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 216.6 – 352.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ระหว่างร้อยละ 63 – 77การเจริญเติบโต ในระยะก่อนเปิดกรีด
  พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 มีการเจริญเติบโตดีมาก แม้ว่าในในช่วงเริ่มปลูกมีขนาดลำต้นค่อนข้างจะต่ำกว่าทุกพันธุ์ เนื่องจากความพร้อมของการขยายพันธุ์ในระยะแรก โดยมีค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงลำต้นสูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ระหว่างร้อยละ 7 – 10  ระยะระหว่างกรีด โดยทั่วไปในระยะที่มีการกรีดยาง การเพิ่มขนาดของลำต้นยางจะน้อยลง เนื่องจากการแบ่งผลิตผลจากกระบวนการสังเคราะห์แสงนำไปใช้ในการสร้างน้ำยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง อัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นจะลดลงอย่างมาก ผลการทดลองนี้ก็เช่นเดียวกัน พบว่า
   พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 มีค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของลำต้นที่เพิ่มขึ้นต่อปีระหว่างกรีดอยู่ในช่วงระหว่าง 1.4 - 3.8 ซม. ต่ำกว่าพันธุ์ RRIM 600 ระหว่างร้อยละ 19 - 31 เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงลำต้นในทุกแปลงทดลองในตารางที่ 3 พบว่า พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 มีค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของลำต้นโตกว่าพันธุ์ RRIM600 ร้อยละ 3 กล่าวได้ว่าอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกับพันธุ์ RRIM 600ความหนาเปลือกและจำนวนวงท่อน้ำยาง ความหนาเปลือกและจำนวนวงท่อน้ำยางเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการให้ผลผลิตน้ำยาง จากการวัดความหนาเปลือกและวิเคราะห์จำนวนวงท่อน้ำยาง เมื่อต้นยางอายุ 7 ปี พันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 408 มีความหนาเปลือก 5.6 ซม.ใกล้เคียงกับพันธุ์ BPM 24 ซึ่งจัดว่าเป็นพันธุ์ที่มี
เปลือกหนา และมีจำนวนวงท่อน้ำยาง 9.1 วง 



นสพ.คมชัดลึกออนไลน์

ผลวิจัยยางพันธุ์ใหม่ "RRIT408" ทนแล้งได้ดีเหมาะปลูกที่อีสาน
การจัดงาน "111 ปีแห่งการเรียนรู้ยางพาราไทย" โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ไม่เพียงเป็นงานใหญ่แห่งปีที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเท่านั้น แต่มีการเปิดตัวยางพันธุ์ใหม่ "RRIT408" ซึ่งเป็นผลงานวิจัยตัวล่าสุดของสถาบันวิจัยยาง มีจุดเด่น ปลูกง่าย โตไว ให้ปริมาณน้ำยางสูง ที่สำคัญยังทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน
 "ในวันงานเราจะแจกกิ่งพันธุ์ 408 นี้ด้วย โดยจะแจกคนละ 3 กิ่ง เฉพาะผู้ประกอบการผลิตกิ่งตาขาย เพื่อให้นำไปทดลองติดตาดู เพราะคนกลุ่มนี้จะชำนาญการติดตาอยู่แล้ว คือในวันนั้นเราตั้งใจจะเปิดตัวยางพันธุ์ 408 นี้ด้วย"
 สุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เผยถึงกล้ายางพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่เป็นผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยยางที่จะนำมาเปิดตัวในวันงาน "111 ปีแห่งการเรียนรู้ยางพาราไทย" ซึ่งยางพันธุ์นี้กรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยยางใช้เวลากว่า 25 ปีในการทดสอบสายพันธุ์ที่ผ่านแปลงทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเปิดกรีดและขณะนี้ได้เปิดกรีดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ซึ่งผลผลิตน้ำยางดีมาก และเตรียมขยายผลไปยังพื้นที่ปลูกในภาคอีสานต่อไป เนื่องจากยางพาราสายพันธุ์นี้ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ที่สำคัญสามารถทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่น
  สุจินต์ ระบุอีกว่า สำหรับการเลือกพันธุ์ยางปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน เพราะยางแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมต่างกัน ในพื้นที่ปลูกที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคอีสาน เหนือและกลาง ซึ่งเจ้าของสวนยางจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยางหรือเนื้อไม้ หรือทั้งน้ำยางและเนื้อไม้เพื่อจะได้เลือกพันธุ์ยางได้ถูกต้องและได้ผลตอบแทนตามที่หวัง
 "บางครั้งระดับน้ำในดินมีผลต่อการทำงานของรากยางด้วย อย่างพันธุ์ RRIT251 และอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ไม่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น แต่บางพันธุ์สามารถปลูกได้ดีเช่น บีพีเอ็ม (BPM) 24 หรืออย่างโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรายางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 มักจะมีปัญหา แต่พันธุ์พีบี (PB) 255 กลับมีความต้านทานได้ดีกว่า แม้ผลผลิตน้ำยางจะน้อยกว่าอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ก็ตาม"
 จากอดีตจนปัจจุบันมียางหลายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยยางส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนยางว่าจะเน้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้เป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะเหมาะกับพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันไปด้วย
 "พันธุ์ RRIT408 นี่ เราใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์นานถึง 25 ปี โดยพัฒนามาจากพันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 หรือ RRIT402 หลังได้ต้นพันธุ์มาแล้วก็ต้องทดลองปลูกในแปลงทดลอง ก็ประมาณ 15 ปี กว่าจะโตเปิดกรีดได้ก็ใช้เวลาอีก 6 ปีรวมแล้วก็ 25 ปีเต็ม ต้องบอกก่อนว่าการวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ยางนั้นไม่เหมือนพืชชนิดอื่น เพราะต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าจะได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี จึงจะเห็นผล" ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางกล่าวย้ำ
 ยางพันธุ์ "RRIT408" นับเป็นอีกก้าวของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรในการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราให้มีคุณภาพดี ก่อนจะนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไป
   
"สุรัตน์ อัตตะ"นสพ.คมชัดลึก

ไม่มีความคิดเห็น: