วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

RRIM600PB(ยอดดำ)



RRIM 600PB (ยอดดำ)


ยางพาราสายพันธุ์มาเลเซีย
PB 350 (RRIM600PB ยอดดำ)
PB 350 หรือ 600 ยอดดำมาเลเซีย สายพันธุ์นี้ถูกพัฒนามาจากสายพันธุ์ 600 เดิม ซึ่งโครงสร้างต้นทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของ ไม้ซุงลักษณะใบจะคล้ายๆ กับ RRIM 600 แต่ลำต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่ออายุ 4 ปี เราสามารถสังเกตถึงความแตกต่างโดยสิ้นเชิง

ข้อดีของยางพาราสายพันธุ์ PB 350 นี้คือ
1.
PB 350
แก้ปมด้อยของสายพันธุ์ RRIM 600 ทั้งหมด เช่น ทนต่อการติดเชื้อราที่มาจากทางดินและทางอากาศได้ดีมาก หลายเท่าตัว เช่น เชื้อราไฟทอปเธอร่า เป็นต้น
2. PB 350 สายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาเพื่อ ให้สามารถอยู่ได้ในสภาพพื้นที่ที่แล้งหรือขาดน้ำได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีอัตราอยู่รอดดีกว่า สายพันธุ์ RRIM 600 ถึง 3 เท่า เนื่องจากโครงสร้างลำต้นทั้งหมดจะอยู่ในลักษณะของ ไม้ซุง ซึ่งภาษาท้องถิ่นมาเลเซียเรียกว่า Klon Balak หรือ โคลนนิ่งไม้ซุงนั่นเอง

3. PB 350 มีระบบรากแก้วที่ยาวกว่า สายพันธุ์ RRIM 600 ถึง 3 เท่า ทำให้การหล่อเลี้ยงธาตุอาหาร ของท่ออาหารและน้ำ Sylem และ Ploem มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ และระบบรากสามารถเดินหาอาหารได้ลึกและไกลกว่าสายพันธุ์ RRIM 600

4. PB 350 หน้ายางนิ่ม ไม่หนาและไม่บางจนเกินไป ข้อดี ไม่ทำให้เกิดภาวะหน้ายางตาย หรือหน้ายางแตก
5.
ในสภาวะ ดิน ฟ้า อากาศ ที่เหมาะสม PB 350 นี้ สามารถเปิดหน้ายางได้เพียงแค่ปีที่ 5 เท่านั้น จะเร็วกว่าสายพันธุ์ RRIM 600 ถึง 2 ปี ทำให้เกษตรกรประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น
6.
PB 350 โตไว โตเร็ว ลักษณะโดยกายภาพแล้ว จะให้ขนาดความใหญ่ลำต้น ปีละ 2 นิ้ว หรือ 4 ปี 8 นิ้ว หรือ 50 เซนติเมตรรอบวงนั่นเอง
7.
ช่วงอายุการให้ผลผลิตสามารถให้ผลผลิตได้ถึงปีที่ 40 จากการวิจัยสายพันธุ์ PB 350 จะชะลอให้หรือคงที่ Stable เมื่ออายุต้นอยู่ปีที่ 35 เป็นต้นไป
8.
การให้ผลผลิต จากข้อมูลขององค์กรพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราแห่งมาเลเซีย หรือ (Lembaga Getah Malaysia, LGM) สามารถให้ผลผลิตถึง 450 กิโลกรัม/ไร่/ปี (6 เดือน)

9. การพัฒนาความเข้มข้น (intensity) ของน้ำยาง PB 350 อยู่ที่ 38-40% คำนวณจากเปอร์เซ็นน้ำยางแห้ง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงสุด

10. PB 350 สามารถปลูกได้ในที่เนินเขาความชันไม่เกิน 30 องศา และพื้นที่ราบลุ่ม




วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

การขอรับการสงเคราะห์
สวนยางที่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการสงเคราะห์เพื่อปลูกแทน

1. จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ แต่ละไร่ มีต้นยางปลูก กระจัดกระจาย ไม่น้อยกว่า 10 ต้น และ โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น และ ต้นยางที่มีอยู่นั้น ต้องเป็นต้นยาง อายุกว่า 25 ปีขึ้นไป หรือ ต้นยาง ทรุดโทรมเสียหาย หรือ ต้นยางที่ได้ผลน้อย
กรณีมีเนื้อที่น้อยกว่า 2 ไร่ และ เป็นส่วนสุดท้าย ของแปลง ที่เคยได้รับ การสงเคราะห์ปลูกแทน ด้วยยางมาแล้ว หาก ขอรับการสงเคราะห์ ปลูกแทน ด้วยยาง ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ ได้รับการ สงเคราะห์ เพื่อปลูกแทนได้
1.1 ต้นยางทรุดโทรมเสียหายเนื่องจากเปลือกกรีดเสียหาย ต้องมีลักษณะดังนี้
1.1.1 ต้นยางต้องมีอายุเกิน 15 ปี
1.1.2 เปลือกของต้นยาง ที่ใช้ในการกรีด ต้องเสียหาย เกินร้อยละ 50
1.1.3 ต้นยางตามข้อ 1.1.2 จะต้องมีจำนวนเกินร้อยละ 50 ของจำนวน ต้นยางปลูกทั้งหมด
1.2 ต้นยางทรุดโทรมเสียหาย เนื่องจากถูกไฟไหม้ ต้องมี ลักษณะ ดังนี้
1.2.1 ต้นยางในสวนจะต้องเปิดกรีด แล้วมีขนาดเส้นรอบต้น ไม่น้อยกว่า 50 ซม. โดยวัด ณ จุดสูงจากพื้นดิน 75 ซม. สำหรับต้นยาง ที่ปลูกด้วย เมล็ดหรือกล้า และ150 ซม. สำหรับ ต้นยางติดตา
1.2.2 จำนวนต้นยางตามข้อ 1.2.1 จะต้องมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของ จำนวนต้นยางปลูก ทั้งหมด และเปิดกรีดมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี
1.2.3 ไฟไหม้มาแล้วจนถึงวันยื่นคำขอสงเคราะห์ไม่เกิน1 ปี
1.3 ต้นยางทรุดโทรมเสียหายเนื่องจาก วาตภัย มีหลักเกณฑ์ การพิจารณา ดังนี้
1.3.1 ต้นยางที่ได้รับความเสียหาย ต้องเปิดกรีดแล้ว ไม่น้อยกว่า 70% และ เสียหายจน เสียสภาพสวน
1.3.2 ประสบวาตภัยมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับจนถึง วันยื่น คำขอรับการ สงเคราะห์
1.4 ต้นยางได้ผลน้อย ต้องมีลักษณะดังนี้
1.4.1 ต้นยางต้องมีอายุเกิน 15 ปี เปิดกรีดมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
1.4.2 ต้องเป็นสวนยาง ที่ได้รับการดูแล ปราบวัชพืช และ ใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังให้ผลน้อยอยู่
2. จะต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการ หรือ อยู่ใน เขตป่าสงวน แห่งชาติ หรือเขตอุทยาน แห่งชาติ หรือ ป่าที่คณะรัฐมนตรี มีมติกำหนดไว้ ให้เป็นป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต จากหน่วยราชการ ผู้รับผิดชอบ ให้เป็นผู้มีสิทธิทำกิน หรือ ได้รับอนุญาต ให้ เข้าทำประโยชน์ หรือ อยู่อาศัย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว เพื่อ การทำสวนยาง
3. การขอรับการสงเคราะห์ ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดี ในที่ดินแปลงใหม่ ตามมาตรา 21 จะต้อง อยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้
3.1 เป็นเจ้าของสวนยาง ซึ่งมีสวนยางแปลงเดียว หรือ หลายแปลง รวมกัน มีเนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ (ทั้งของตนเองและคู่สมรส) ไม่ว่า จะเป็น สวนยางอ่อน หรือ สวนยางแก่ และ จะต้องมีที่ดินแปลงใหม่ ซึ่ง มีเนื้อที่ติดต่อ เป็นผืนเดียวกันตั้งแต่ 15 ไร่ขึ้นไป (จะเป็นของตนเองหรือคู่สมรสก็ได้)
3.2 ที่ดินสวนยางแปลงเดิม และที่ดินแปลงใหม่ จะติดต่อเป็นผืนเดียวกันก็ได้ หรือ ที่ดินสวนยาง แปลงเดิมอยู่แห่งหนึ่ง ที่ดินแปลงใหม่อยู่อีกแห่งหนึ่ง ก็ได้ แต่ ต้องอยู่ใน เขตจังหวัด เดียวกัน
3.3 ที่ดินสวนยางแปลงเดิมส่วนที่จะได้รับการสงเคราะห์จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และ 2 ที่ดินแปลงใหม่จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 และต้องสร้างสวนยางพันธุ์ดีตั้งแต่ 15 ไร่ขึ้นไป
3.4 การขอรับการสงเคราะห์ตามมาตรา 21 นั้น จะต้อง ทำคำรับรอง ของ ผู้รับการสงเคราะห์ ตามมาตรา 21 ตามแบบที่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง กำหนดไว้ ใน รายละเอียด (เอกสารหมายเลข 1)

คุณสมบัติผู้ขอรับการสงเคราะห์เพื่อปลูกแทน
1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย หรือ นิติบุคคล ที่จดทะเบียน ตาม กฎหมายไทย
2. เป็นเจ้าของสวนยางมีที่ดินเป็นของตนเอง หรือ เป็นที่ดิน ที่รัฐจัดสรรให้ หรือ ที่ดินที่เช่ารัฐ และ มีหลักฐานแสดงการครอบครอง หรือ แสดงกรรมสิทธิ์ หรือเอกสารสิทธิ์ หรือสัญญาเช่า หรือ หนังสือรับรองว่า ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ หรือ เขตหวงห้าม ของ ทางราชการ ซึ่ง ทางราชการออกให้

ระเบียบและหลักเกณฑ์การยื่นขอรับการสงเคราะห์

คำแนะนำ การขอรับการสงเคราะห์เพื่อปลูกแทน

สวนยางที่มีต้นยางอายุกว่า 25 ปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือ ต้นยางที่ได้ผลน้อย ไม่คุ้มค่ากับการบำรุงรักษาและแรงงานในการกรีดยาง สวนยางดังกล่าวสามารถนำมาขอรับการสงเคราะห์เพื่อปลูกแทนใหม่ด้วยยางพาราหรือไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดอื่นได
สวนยางที่จะขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนนั้น ต้องมีเนื้อที่สวนยางไม่น้อยกว่า 2 ไร่ แต่ละไร่มีต้นยางไม่น้อยกว่า 10 ต้น และโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละ 25ต้น สวนยางนั้นต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการ หรืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการสงวน หรือป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดไว้ให้เป็นป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มีสิทธิทำกิน หรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเพื่อการทำสวนยาง

การยื่นขอรับการสงเคราะห์เพื่อปลูกแทน ผู้ยื่นขอจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้


กรณีผู้ยื่นขอเป็นบุคคลทั่วไป

1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย
2.เป็นเจ้าของสวนยางโดยมีหลักฐานการมีสิทธิ์ในที่ดินหรือมีหลักฐานการครอบครองที่ดินสวนยางตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
หรือเป็นผู้ที่ครอบครองที่ดินสวนยางมือเปล่าโดยชอบด้วยกฎหมายต่อเนื่องกันมากกว่า 10 ปี หรือผู้รับโอนสวนยางจากผู้มีสิทธิครอบครองดังกล่าว
ซึ่งต้องมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการที่รับผิดชอบว่า ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตหวงห้ามของทางราชการประกอบด้วย
3. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของสวนยางให้ทำการแทน
4. เป็นผู้เช่าสวนยางของผู้อื่นเพื่อผลิตยาง โดยมีสัญญาเช่า
5. เป็นผู้มีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยาง โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของ สวนยางเป็นลายลักษณ์อักษร
6. เป็นผู้เช่าที่ดินของผู้อื่นเพื่อสร้างสวนยาง โดยมีสัญญาเช่า
7. เป็นเจ้าของสวนยางที่ได้รับอนุญาตให้เช่าทำสวนยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
หรือวนอุทยานแห่งชาติ หรือเขตหวงห้ามของทางราชการ โดยมีหลักฐานอนุญาตซึ่งทางราชการออกให้

กรณีผู้ยื่นขอเป็นนิติบุคคล

1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
2. มีหลักฐานการมีสิทธิ์ในที่ดินหรือมีหลักฐานการครอบครองที่ดินสวนยาง ตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด หรือผู้รับโอนสวนยางจากผู้มีสิทธิครอบครองดังกล่าว
3. เป็นผู้เช่าสวนยางของผู้อื่นเพื่อผลิตยาง โดยมีสัญญาเช่า
4. เป็นผู้มีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยาง โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของสวนยางเป็นลายลักษณ์อักษร

เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทน

1. แบบพิมพ์คำขอรับการสงเคราะห์ ส.ก.ย. 1 จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือ บัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประชาชนของผู้ขอรับการ สงเคราะห์ / ตัวแทน จำนวน 2 ฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาทุกฉบับ
3. ผู้ขอรับการสงเคราะห์ / ตัวแทน ที่เป็นบุคคลต่างด้าวให้แสดงใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
4. ผู้ขอรับการสงเคราะห์ที่เป็นนิติบุคคล ให้แสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท จำกัด พร้อมสำเนา จำนวน 2 ฉบับ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล ให้แสดงหนังสือแสดงฐานะว่าเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนหรือผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินการของนิติบุคคลดังกล่าว พร้อมสำเนา จำนวน 2 ฉบับ
5. ผู้ขอรับการสงเคราะห์ที่ยื่นขอรับการสงเคราะห์ในฐานะตัวแทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้จัดการมรดก ต้องนำหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขออยู่ในฐานะดังกล่าวมาแสดง พร้อมสำเนาจำนวน 2 ฉบับ
6. ผู้ขอรับการสงเคราะห์ยื่นขอรับการสงเคราะห์ในฐานะผู้เช่า ผู้อาศัย หรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินร่วมกับผู้อื่นจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสวนยาง หรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินสวนยางร่วม ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจตามแบบที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด และต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรให้เรียบร้อย พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
7. กรณีที่สวนยางมีผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันหลายคน ถ้าผู้มีสิทธิครอบครองร่วมคนใดคนหนึ่งยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ผู้มีสิทธิ์ครอบครองร่วมคนอื่นจะต้องลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ครบทุกคน หรือถ้าผู้มีสิทธิ์ครอบครองร่วมทุกคนมอบอำนาจให้บุคลอื่นที่มิได้มีสิทธิ์ครอบครองร่วมอยู่ด้วยเป็นผู้ขอ ผู้มีสิทธิครอบครองร่วมจะต้องลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ครบทุกคน
8. หนังสือที่แสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินสวนยาง ซึ่งได้แก่เอกสารที่ออกตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 , พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 , พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 , พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการ เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 , พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ให้แสดงฉบับจริงพร้อมสำเนา จำนวน 2 ฉบับ
9. กรณีที่ยื่นขอปลูกแทนในที่ดินแปลงใหม่ตามมาตรา 21 ให้นำหลักฐานการมีสิทธิ์ในที่ดิน หรือหลักฐานการครอบครองที่ดินทั้งของสวนยางแปลงเก่าและที่ดินแปลงใหม่มาแสดงพร้อมสำเนา 2 ฉบับ และจะต้องทำหนังสือรับรองของผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามมาตรา 21 จำนวน 2 ฉบับ


ผู้ประสงค์ขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนหรือต้องการทราบรายละเอียดการขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถาม ขอรับแบบฟอร์มคำขอรับการสงเคราะห์ (ส.ก.ย. 1) และ ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ / จังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด หรือสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โทร 0-2434-0180-91 ต่อ 412 ได้ในวันและเวลาราชการ หรือยื่นต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่